• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

รู้จักเมกะโอห์มมิเตอร์ ทั้งประโยชน์ การใช้งาน ข้อควรระวัง

เมกะโอห์มมิเตอร์ เครื่องมือทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า

Insulation Testers หรือเมกะโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยวัดค่าความต้านทานฉนวน เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูด วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักเครื่องมือชนิดนี้กันให้มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่างไฟมืออาชีพที่ควรมีไว้ใช้งานเพื่อความปลอดภัย แต่ตามบ้านเรือน อาคารสำนักงานต่าง ๆ ก็ควรจะมีติดเอาไว้ เพื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

Insulation Testers คืออะไร

เมกะโอห์มมิเตอร์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่าความต้านทานของฉนวนไฟฟ้าที่เราใช้หุ้มอุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะวัดความต้านทานโดยมีหน่วยเป็นเมกะโอห์ม (Mega Ohm) เพื่อระบุค่าความต้านทานที่ยังคงมีประสิทธิภาพ และช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้ารั่วไหลหรือดูดจากการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือดังกล่าว

แล้วฉนวนไฟฟ้าคืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน?

ฉนวนไฟฟ้า หรือ Insulator คือ สสาร วัสดุ หรือวัตถุที่ไม่ยอมให้ไฟฟ้าผ่านไปได้ มีความต้านทานไฟฟ้าสูง ซึ่งมักนิยมนำวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามาหุ้มสายไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ตัวอย่างฉนวนไฟฟ้า เช่น ไมกา แก้ว พลาสติก ไม้ กระดาษ ยาง

ฉนวนไฟฟ้าจะอยู่ตรงข้ามกับตัวนำไฟฟ้า อย่างทองแดง อะลูมิเนียม เหล็ก เงิน ทอง แกรไฟต์ ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าแล่นผ่านไปได้ หรือเป็นวัสดุที่มีความต้านทานต่ำนั่นเอง

ฉนวนไฟฟ้ามีความสำคัญในแง่ของความปลอดภัยในการใช้งานหรือซ่อมบำรุงอุปกรณ์/เครื่องมือไฟฟ้า กล่าวคือ ช่วยให้เราสามารถจับปลั๊กไฟ สายไฟ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะบางครั้งเราไม่สามารถมองเห็นความชำรุดเสียหายได้ด้วยตาเปล่า หรือบางครั้งวัสดุที่เราใช้เป็นฉนวนเกิดเสื่อมสภาพ ไม่สามารถต้านทานไฟฟ้าได้ดีดังเดิม

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการคิดค้นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอย่างเมกะโอห์มมิเตอร์ขึ้นมา เพื่อวัดค่าความต้านทานของฉนวนไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย ช่วยป้องกันอันตรายจากการเกิดไฟรั่ว ไฟลัดวงจร และไฟดูดนั่นเอง

อะไรที่ส่งผลทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพลง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เมื่อเราใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือไฟฟ้ามาระยะหนึ่ง เราจะต้องทำการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า เพื่อให้เรามั่นใจในความปลอดภัยของการใช้งาน ซึ่งสิ่งที่ทำให้คุณสมบัติความเป็นฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพลง ตัวอย่างเช่น ฝุ่น อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ความชื้น

ประเภทของ Insulation Testers

เราสามารถแยกประเภทของโอห์มมิเตอร์ออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามการแสดงผล ได้แก่

  1. แบบ Analog หรือแบบเข็ม (Analog Insulation Testers) เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าแบบแอนะล็อก ใช้เข็มเป็นตัวชี้ค่าความต้านทาน มีจุดเด่นที่ราคาไม่แพง มีทั้งแบบเข็มทั่วไปกับแบบวัดต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น
    • KYORITSU 3166 เครื่องตรวจสอบฉนวนแบบเข็ม วัดค่าความเป็นฉนวนโดยจ่ายไฟ 1000V/2000MΩ สเกลใหญ่อ่านค่าง่าย มีสายคล้องคอ
    • KYORITSU 3131 เป็นเครื่องตรวจสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้าต่อเนื่องแบบเข็มที่สามารถวัดค่าฉนวนไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 100 Mꭥ และวัดค่าความต่อเนื่องได้ 20ꭥ พร้อมหลอดไฟเตือนเมื่อวงจรที่จะวัดมีแรงดันไฟฟ้า
  2. แบบดิจิตอล (Digital Insulation Testers) เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าแบบดิจิตอล แสดงผลเป็นตัวเลข ซึ่งจะให้ค่าที่แม่นยำและถูกต้อง เหมาะสำหรับการวัดค่าที่ต้องการความแม่นยำสูง ตัวอย่างเช่น
    • KYORITSU 3005A เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าแบบดิจิตอล มี บาร์กราฟแสดงค่าแรงดันที่ใช้ในการทดสอบฉนวน และสามารถวัดค่าแรงดันไฟสลับ (AC Voltage)

นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งประเภทของเมกะโอห์ม เป็นเครื่องแบบวัดค่าฉนวนไฟฟ้าแรงดันต่ำ และแบบวัดค่าฉนวนไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Insulation Testers) เป็นเครื่องที่ใช้กับการทดสอบแรงดันสูง ๆ มีทั้งแบบเข็มและแบบดิจิตอล ซึ่งจะมีราคาที่แพงกว่าเครื่องทั่วไป เหมาะที่จะใช้กับเครื่องมือขนาดใหญ่ที่มีแรงดันสูง ตัวอย่างเช่น

  • KYORITSU 3122B เครื่องตรวจสอบฉนวนแบบเข็ม สามารถวัดค่าความเป็นฉนวนได้สูงสุด 200Gꭥ
  • KYORITSU 3125A เครื่องตรวจสอบฉนวนแบบดิจิตอล แสดงผลด้วยค่าตัวเลขขนาดใหญ่ พร้อมบาร์กราฟ

เมกะโอห์มมิเตอร์ ช่วยทดสอบความเป็นฉนวนเพื่อความปลอดภัย

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องทดสอบความเป็นฉนวน

สำหรับการทดสอบความเป็นฉนวน ส่วนใหญ่จะตรวจสอบตามอาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ในบ้านโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ควรจะดำเนินการทดสอบความเป็นฉนวนเป็นประจำ ดังนี้

  • หม้อแปลงไฟฟ้า
  • มอเตอร์ไฟฟ้า
  • ฮีตเตอร์
  • สายเคเบิล
  • ฉนวนและบุชชิง
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์

ข้อควรระวัง และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย

วิธีใช้งานเครื่องวัดค่าความต้านทาน Insulation Testers หรือ เมกะโอห์มมิเตอร์ มีดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบโอห์มมิเตอร์ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
  2. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการวัด เพื่อกำหนดแรงดันไฟฟ้าในการทดสอบได้ถูกต้องและปลอดภัย
  3. นำสายหนึ่งไปเชื่อมต่อกับบริเวณกราวด์ และอีกสายหนึ่งไปต่อกับสาย Line ที่ต้องการจะวัด
  4. ตั้งค่าแรงดันการทดสอบ
  5. กดปุ่ม Test หรือ Measure
  6. รอจนค่านิ่งแล้วอ่านค่าที่ได้

สำหรับข้อควรระวังในการใช้งานเมกะโอห์มมิเตอร์ก็คือ ห้ามวัดความต้านทานไฟฟ้าในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำมีไฟ เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ เราควรจะเลือกใช้เมกะโอห์มมิเตอร์ที่เหมาะกับแรงดันไฟฟ้า เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย โดยเฉพาะหากเราต้องการทดสอบแรงดันสูง ควรจะเลือกเครื่องวัดค่าต้านทานไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมจะดีกว่า โดยเราควรจะเลือกค่าแรงดันทดสอบอยู่ที่ 2 เท่าของแรงดันปกติ

เลือกซื้อเครื่องวัดไฟฟ้าจาก Kyoritsu

เมกะโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าที่ช่วยวัดค่าความต้านทานฉนวน ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานโดยตรง เราจึงควรเลือกที่คุณภาพดี มีความแม่นยำ อย่างเครื่อง Insulation Testers หรือ เมกะโอห์มมิเตอร์ของ Kyoritsu แบรนด์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นที่ช่างไฟฟ้าให้ความไว้วางใจ สามารถหาซื้อได้ที่ Thai Electricity ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Kyoritsu เรามีเครื่องวัดทางไฟฟ้าให้เลือกหลากหลาย สามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือมาเลือกชมสินค้าจริงได้ที่สำนักงาน บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 เดินทางสะดวก มีที่จอดรถ เปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.