• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

วิธีเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบมืออาชีพ ไม่ง้อช่างไฟ

เซอร์กิตเบรกเกอร์คืออะไร มีกี่ประเภท และต้องเลือกอย่างไร?

electrical-work-install-new-panel


สนใจสินค้าคลิ๊ก

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญและจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร โรงงาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์เอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน  

เซอร์กิตเบรกเกอร์คืออะไร?

เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์หรือสวิตช์ไฟฟ้าที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีการจ่ายกระแสไฟเกินกว่าปกติ จึงช่วยลดโอกาสของการเกิดเพลิงไหม้ หรืออันตรายจากไฟดูดได้

คนทั่วไปจะเรียกเซอร์กิตเบรกเกอร์สั้น ๆ ว่า “เบรกเกอร์” ซึ่งเราจะต้องเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยพิจารณาที่กำลังไฟ และแรงดันไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย และลดความเสียหายอันเนื่องมาจากไฟฟ้าทำงานผิดปกติได้ 

ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์

เราสามารถแบ่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามประเภทของแรงดันไฟฟ้าออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ 

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ

เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้งานทั่วไป ทั้งในอาคาร บ้านเรือน พาณิชยกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม นิยมติดตั้งในตู้ Consumer Unit สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ไม่ต้องปิดสวิตช์ สามารถแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ดังนี้

Miniature Circuit Breakers (MCBs) เป็นเบรกเกอร์ที่นิยมใช้ในบ้าน สำนักงาน และอาคารที่ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100A มักใช้เป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ติดตั้งใน Consumer Unit สามารถซ่อมบำรุงและเปลี่ยนได้ง่าย มีทั้งแบบ Plug-on และแบบ Din-Rail เบรกเกอร์ประเภทนี้จะช่วยตัดไฟในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าเกิน หรือลัดวงจร 

Residual Current Devices (RCDs) เป็นเบรกเกอร์ที่จะตัดไฟในกรณีที่เกิดไฟรั่ว ไฟดูด สามารถแบ่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ 

    • RCBO (Residual Current Operated Circuit Breaker with Integral Overcurrent Protection) ตัดไฟกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว หรือไฟเกิน ไม่จำเป็นต้องใช้งานคู่กับฟิวเบรกเกอร์

    • RCCB (Residual Current Operated Circuit Breaker without Integral Overcurrent Protection) ตัดไฟเมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วไหลเท่านั้น แต่ไม่ตัดวงจรในกรณีที่ไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟเกิน ต้องใช้งานคู่กับฟิวเบรกเกอร์ 

    • ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) ตัดไฟเมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน มักติดตั้งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อไฟรั่วได้ง่ายหรือมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ อย่างเตาอบ เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้า แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่ตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟเกิน 

  • Moulded Case Circuit Breakers (MCCB) เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กระแสไฟอยู่ที่ 100A-2,300A ติดตั้งใน Load Center สามารถใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าตามปกติ รวมถึงสามารถตัดกระแสไฟฟ้าในกรณีที่เกิดไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรได้ 

  • Air Circuit Breakers (ACB) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ที่ใช้กับอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทนกระแสไฟได้สูงสุดถึง 6300A เมื่อติดตั้งแล้วสามารถใส่อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ในภายหลัง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 

    • Fixed Type หรือแบบติดตั้งอยู่กับที่ โดยจะทำการติดตั้งถาวรกับตัวเมนเบรกเกอร์
    • Drawout Type หรือแบบถอดได้ ติดตั้งบนโครงล้อที่สามารถเลื่อนได้ลักษณะเดียวกับลิ้นชัก ข้อดีคือ บำรุงรักษาและซ่อมได้ง่าย 

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง

นิยมใช้กับอาคารหรือการติดตั้งในสถานีย่อย กระแสไฟอยู่ระหว่าง 400V ถึง 15kV สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • Air circuit Breakers เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้การอัดน้ำมัน  
  • Vacuum Circuit Breakers เบรกเกอร์สุญญากาศ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแรก ไม่ต้องบำรุงรักษา เนื่องจากเป็นสุญญากาศ จึงปราศจากสิ่งสกปรกเข้าไปบริเวณหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์
  • SF6 circuit breakers เป็นเบรกเกอร์วงจรก๊าซที่ใช้ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (SF6) 

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง

ใช้สำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV ขึ้นไป ตรวจจับกระแสไฟฟ้าด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านหม้อแปลง ป้องกันไฟรั่วลงดิน หรือการโหลดเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

many-switches-displayed

สนใจสินค้าคลิ๊ก


วิธีการเลือกเบรกเกอร์ในที่พักอาศัยหรืออาคารทั่วไป 

เมนเบรกเกอร์

การเลือกเมนเบรกเกอร์ เราจะต้องคำนวณค่ากระแสไฟฟ้ารวมทั้งหมด แต่หากว่าเราสับสนหรือไม่แน่ใจ เราสามารถเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามขนาดของมิเตอร์ไฟที่เราขอติดตั้งจากการไฟฟ้าได้ ดังนี้

  • ขนาดของมิเตอร์ 5(15) ใช้ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ 16A
  • ขนาดของมิเตอร์ 15(45) ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ 40/50A
  • ขนาดของมิเตอร์ 30(100) ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ 100A

เบรกเกอร์ลูกย่อย

สำหรับการเลือกเบรกเกอร์ลูกย่อย จะเลือกตามโหลดไฟฟ้า และความเสี่ยงที่จะเกิดไฟดูดไฟรั่ว 

ตัวอย่างเช่น 

  • หลอดไฟภายในบ้าน ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อยจะอยู่ที่ 10-20A 
  • เครื่องทำน้ำอุ่น 2,500 วัตต์ ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อยจะอยู่ที่ 16A
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อยอยู่ที่ 16A 

นอกจากเรื่องของขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์แล้ว เราควรพิจารณาประเภทของเบรกเกอร์ตามความเหมาะสม เช่น หากเป็นเครื่องซักผ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟดูดหรือไฟรั่ว ก็ควรจะใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบ RCCB หรือ RCBO เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 


ช็อปตู้ไฟและเบรกเกอร์ ปลอดภัยมั่นใจกว่า

ใครที่กำลังมองหาเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง Thai Electricity เรามีหลากหลายขนาดให้เลือกซื้อตามความเหมาะสม โดยสามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของเราได้ จะซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือมาเลือกชมสินค้าจริงที่สำนักงานของเรา บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 เดินทางสะดวก มีที่จอดรถ เปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. MEDIUM VOLTAGE CIRCUIT BREAKERS. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566 จาก https://www.idc-online.com/technical_references/pdfs/electrical_engineering/Medium_Voltage_Circuit_Breakers.pdf
  2. เซอร์กิตเบรกเกอร์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566 จาก https://www.changfi.com/fix/2021/06/19/circuit-breaker-2/#:~:text=เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง