• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

คู่มือช่างไฟมือใหม่: มัลติมิเตอร์คืออะไร? พร้อมวิธีใช้งาน

มัลติมิเตอร์คืออะไร? พร้อมแนะนำวิธีใช้งานที่เหมาะสม

หากใครที่กำลังมองหาคู่มืออุปกรณ์ฉบับง่ายสำหรับช่างไฟมือใหม่ ที่แนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือวัดค่าทางไฟฟ้าอย่าง "มัลติมิเตอร์" บทความนี้มีบอกให้ครบจบ!

สำหรับอุปกรณ์อย่างมัลติมิเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่าฝ่ามือ ซึ่งมาพร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน สามารถใช้ได้ทั้งในงานอุตสาหกรรม งานรถยนต์ งานซ่อมบำรุงไฟฟ้า และงานอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่ามัลติมิเตอร์คืออะไร มีกี่แบบ รวมถึงอ่านค่าอย่างไร เรามีคำตอบมาบอกกัน

มัลติมิเตอร์คืออะไร มีกี่รูปแบบ


มัลติมิเตอร์ 
เครื่องมือวัดไฟฟ้าที่ต้องรู้!

มัลติมิเตอร์ คือหนึ่งในประเภทเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่นิยมใช้งานเป็นอย่างมาก โดยจะมีลักษณะภายนอกเป็นขนาดสี่เหลี่ยมเท่าฝ่ามือ และใช้ในการวัดค่า หรือตรวจสภาพการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเกือบทุกประเภท

มัลติมิเตอร์มีกี่แบบ และใช้งานอย่างไร?

เราสามารถแบ่งมัลติมิเตอร์ได้ตามรูปแบบการแสดงผลและการใช้งาน โดยทั่วไปที่พบเจอได้บ่อย ๆ จะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้

  • มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Multimeter)

เป็นมัลติมิเตอร์ที่มีลักษณะการแสดงผลผ่านการอ่านค่าจากเข็ม โดยมีหน้าปัดที่ประกอบไปด้วยสเกลเพลท เพื่อแสดงค่าจากการวัดปริมาณไฟฟ้า ค่าแรงดัน ค่ากระแส ค่าความจุ ค่าความถี่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไปกับการทดสอบทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์ประเภทนี้ สามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้แค่ทีละอย่างเท่านั้น โดยจะมีวิธีการอ่านค่าที่ได้จากเข็มบนสเกลเพลทที่เคลื่อนออกไปจากตำแหน่งเดิม ซึ่งการแสดงค่าแบบอนาล็อก ถือเป็นการอ่านที่มีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง เนื่องจากสเกลไม่สามารถแสดงตัวเลขที่ทำการวัดได้อย่างละเอียด จึงอาจไม่เหมาะกับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน

  • มัลติมิเตอร์ดิจิตอล (Digital Multimeter)

มัลติมิเตอร์ดิจิตอล คือเครื่องมือวัดค่าทางไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานมากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติในการวัดค่าไฟฟ้าได้หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ ตรวจสอบไดโอด และวัดความจุไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ

นอกเหนือจากคุณสมบัติการใช้งานที่ครอบคลุมแล้ว บนแผงหน้าของตัวเครื่องยังมีสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety Symbols) กำกับไว้ เพื่อเตือนผู้ใช้ให้มีความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ และเตรียมสภาพให้พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ

แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

มาต่อกันที่แคลมป์มิเตอร์ หัววัดที่มีลักษณะคล้ายกับปากคีบรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเบา พกพาได้ง่าย และมีหน้าจอแสดงผลตัวเลขแบบ LED ถือเป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานในพื้นที่แคบ อีกทั้งยังใช้วัดค่าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวัดแรงดันไฟ การวัดกระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยลักษณะการใช้งานของตัวเครื่อง จะมีปุ่มกดเพื่อใช้ในการปรับหน่วยวัด และปุ่มเปิด-ปิดไฟในกรณีที่ต้องใช้วัดผลในที่แคบ โดยจุดเด่นของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ สามารถใช้วัดผลได้อย่างความถูกต้องแม่นยำ รวมถึงมีลักษณะการใช้งานที่สะดวกสบาย เพียงนำหัววัดแคลมป์มิเตอร์ไปเกี่ยวหรือคล้องกับสายไฟก็สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย เหมาะสำหรับการใช้เพื่อตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงานติดตั้งไฟฟ้าทุกรูปแบบ

มัลติมิเตอร์แบบปากกา

มีรูปร่างที่คล้ายกับปากกา โดยตัวเครื่องจะทำมาจากพลาสติกที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า โดยจะแสดงค่าที่วัดได้ผ่านหน้าจอ LED เหมาะสำหรับการใช้งานแบบพกพาเนื่องจากมีขนาดเล็ก ตอบโจทย์การใช้วัดในพื้นที่ที่มีความมืดและแคบ

จุดเด่นสำคัญอย่างฟังก์ชันการใช้งานของมัลติมิเตอร์ปากกาคือ การตรวจจับแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องนำไปสัมผัสกับอุปกรณ์ เพียงนำปลายปากกาเข้าไปใกล้รัศมีของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการวัด เครื่องจะตรวจหาจุดที่สายไฟขาด หรือชำรุดได้อย่างรวดเร็ว และจะแจ้งเตือนผ่านเสียงหรือไฟกะพริบสีแดง เหมาะสำหรับใช้กับงานไฟฟ้าและงานซ่อมบำรุงทั่วไป

วิธีอ่านค่ามัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกฉบับเข้าใจง่าย

อ่านค่ามัลลิติเตอร์ เครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบอนาล็อก

  • เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจสเกลบนหน้าปัด

มัลติมิเตอร์อนาล็อก คือเครื่องที่ใช้อ่านค่าผ่านเข็มที่ชี้บนสเกลเพลท ดังนั้น จะต้องทำความเข้าใจถึงความต่างของสเกลเส้นโค้งทั้ง 4 เส้นที่ปรากฎและนิยมใช้งานอยู่บนหน้าปัด เพื่อใช้ในการอ่านค่าไฟฟ้าที่วัดให้ถูกต้องและแม่นยำ โดยแบ่งได้ทั้งหมด ดังนี้

สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุด และอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนสเกลอื่น ๆ

สเกล “DC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง

สเกล “AC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ

สเกล “dB” เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด 

  • อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า

ก่อนอ่านค่า อย่าลืมตรวจสอบบริเวณสเกลวัดให้ดีว่าถูกตั้งค่าเป็นกระแสตรง หรือกระแสสลับ โดยการอ่านค่าจะยึดจากตัวเลขใต้สเกล โดยให้คุณเลือกช่วงการวัดจากการปรับสวิตช์ หลังจากนั้นมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออ่านผลลัพธ์ค่าไฟฟ้าที่วัดได้ 

  • ประเมินค่าระหว่างตัวเลข

สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า มีรูปแบบการทำงานเหมือนกับการใช้ไม้บรรทัด แต่ในส่วนของสเกลความต้านทานจะแสดงค่าในรูปแบบของลอการิทึมที่มีระยะห่างที่เท่ากัน ซึ่งหมายความว่าค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่เข็มอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลขทั้ง 2 ตัว จะยังมีการแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม


เลือกซื้อเครื่องวัดไฟฟ้าจาก Kyoritsu

สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบรนด์ KYORISTSU ของแท้ที่ได้มาตรฐานการใช้งาน Thai Electricity เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการที่รับประกันได้ถึงคุณภาพและความปลอดภัยต่อการใช้งาน 

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ผ่านทางออนไลน์ หรือเลือกชมสินค้าจริงได้ที่สำนักงานของเรา บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 เดินทางสะดวก มีที่จอดรถ เปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. Understanding Multimeter. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566 จาก https://studentlesson.com/multimeter-use-types-and-function/ 
  2. Understanding the Different Types of Digital Multimeters. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.toolnerds.com/types-of-digital-multimeters/