เปิดวิธีใช้แอมมิเตอร์ฉบับง่าย อ่านจบเริ่มใช้ได้แบบมือโปร!
ไกด์การใช้งานแอมมิเตอร์ฉบับง่าย อ่านจบแล้วใช้เป็นแน่นอน!
“แอมมิเตอร์” ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในอุปกรณ์ที่นักศึกษา ตลอดจนผู้ใช้งานมือใหม่ด้านไฟฟ้าต้องเรียนรู้ ด้วยคุณสมบัติด้านการใช้งานที่จะช่วยวิเคราะห์และตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในครัวเรือน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเรียนรู้ถึงวิธีใช้งานของอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถนำไปต่อยอดกับการใช้งานได้ และอาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจด้วย
แอมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความเข้มข้นด้านกระแสไฟ
แอมมิเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับวัดความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ซึ่งก่อนที่จะใช้เครื่องมือชนิดนี้ในการวัด จำเป็นจะต้องตัดวงจรไฟออกชั่วคราว เพื่อต่อแอมมิเตอร์แบบอนุกรมให้เข้ากับวงจร หลังจากนั้นค่อยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้ามา เพื่อทำการประมวลผลและบอกปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า ณ ขนาดนั้น
คุณสมบัติที่ดีของแอมมิเตอร์
- • ต้องมีความต้านทานน้อย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าในวงจรสามารถไหลผ่านระหว่างการต่ออนุกรมได้มากที่สุด โดยไม่ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง
- • ต้องมีความไว สามารถตรวจจับกระแสการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีความเข้มข้นน้อยก็ตาม
ประเภทและวิธีใช้งานแอมมิเตอร์
1. ประเภทติดตั้งในวงจร
เป็นชนิดที่ต้องปลดสายวงจรออกชั่วคราว เพื่อต่อเครื่องมือวัดให้เข้าไปรับกระแสการไหลของไฟฟ้าโดยตรง โดยจะมีทั้งแบบกระแสตรง (DC ammeter) ที่คำนึงถึงขั้วบวก-ขั้วลบระหว่างทำการวัด และแบบที่ใช้วัดกระแสสลับ (AC ammeter) ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้วใด ๆ อย่างไรก็ตามการใช้งานทั้ง 2 แบบนั้น จะต้องต่อเครื่องมือแอมมิเตอร์แบบอนุกรมให้เข้ากับวงจรก่อนทำการวัดเสมอ
- วิธีใช้งานแอมมิเตอร์แบบติดตั้งในวงจร
- ตั้งค่าการรับกระแสไฟของแอมมิเตอร์ให้มีค่าสูงสุด พร้อมสำรวจว่าตัวเครื่องที่ใช้เป็นการรับแบบกระแสตรง หรือกระแสสลับ เพื่อป้องกันการต่อสายที่ผิดพลาด
- ทดสอบฟิวส์ภายในเครื่องมือ ป้องกันการอ่านค่าที่ผิดพลาดของตัวเครื่อง
- ต่อวงจรและเครื่องมือให้ตรงขั้ว ก่อนจะเปิดสวิตช์พร้อมจ่ายไฟให้ทำงานตามปกติ
- อ่านค่าผ่านสเกลเพลท โดยเข็มจะเริ่มเบนไปทางขวา โดยจะเบนไปมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับค่ากระแสไฟที่ไหลผ่านวงจร
2. ประเภทคล้องสายไฟ
เป็นชนิดเครื่องมือวัดค่ากระแสไฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้งานที่สะดวกสบาย ไม่ต้องปลดสายวงจรก่อนทำการวัด เพียงใช้แคลมป์มิเตอร์นี้ คล้องไปยังสายไฟที่ต้องการเพียงเส้นใดเส้นหนึ่ง ก็สามารถอ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านวงจรได้ทันที โดยวิธีการอ่านค่า ในกรณีที่มีกระแสไฟไหลผ่านน้อย ให้ทำการดันสายไฟที่ต้องการวัด คล้องรอบแกนเหล็กของมิเตอร์หลาย ๆ รอบ หลังจากนั้นให้นำค่าที่อ่านได้มาหารด้วยจำนวนรอบการพันของสายไฟ ก็จะได้ค่ากระแสผ่านวงจรที่แท้จริง
- วิธีใช้งานแอมมิเตอร์แบบคล้องสายไฟ
- นำตัวเครื่องไปคล้องรอบสายไฟที่ต้องการอ่านค่ากระแสในวงจร
- ตั้งค่าตัวเครื่องให้เป็นแบบอัตโนมัติ ป้องกันความผิดพลาดระหว่างการใช้งาน
- ทำการอ่านค่าบนหน้ามอนิเตอร์ และถอดเครื่องออกได้ทันทีหลังใช้เสร็จ
วัดกระแสไฟได้ง่ายกว่า แค่ใช้ “มัลติมิเตอร์”
มัลติมิเตอร์ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติด้านการใช้งานที่ครอบคลุม สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลากหลายค่า โดยสามารถตั้งเป็นโวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ได้ตามความต้องการ หลังจากนั้นจึงจะเลือกชนิดของกระแสไฟฟ้า ระหว่างกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) ในขณะที่มัลติมิเตอร์บางชนิด ยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติม สามารถวัดค่าความจุ ความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย
สนใจสินค้าคลิ๊กเลย
แอมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความเข้มข้นด้านกระแสไฟ
แอมมิเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับวัดความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ซึ่งก่อนที่จะใช้เครื่องมือชนิดนี้ในการวัด จำเป็นจะต้องตัดวงจรไฟออกชั่วคราว เพื่อต่อแอมมิเตอร์แบบอนุกรมให้เข้ากับวงจร หลังจากนั้นค่อยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้ามา เพื่อทำการประมวลผลและบอกปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า ณ ขนาดนั้น
คุณสมบัติที่ดีของแอมมิเตอร์
- • ต้องมีความต้านทานน้อย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าในวงจรสามารถไหลผ่านระหว่างการต่ออนุกรมได้มากที่สุด โดยไม่ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง
- • ต้องมีความไว สามารถตรวจจับกระแสการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีความเข้มข้นน้อยก็ตาม
ประเภทและวิธีใช้งานแอมมิเตอร์
1. ประเภทติดตั้งในวงจร
เป็นชนิดที่ต้องปลดสายวงจรออกชั่วคราว เพื่อต่อเครื่องมือวัดให้เข้าไปรับกระแสการไหลของไฟฟ้าโดยตรง โดยจะมีทั้งแบบกระแสตรง (DC ammeter) ที่คำนึงถึงขั้วบวก-ขั้วลบระหว่างทำการวัด และแบบที่ใช้วัดกระแสสลับ (AC ammeter) ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้วใด ๆ อย่างไรก็ตามการใช้งานทั้ง 2 แบบนั้น จะต้องต่อเครื่องมือแอมมิเตอร์แบบอนุกรมให้เข้ากับวงจรก่อนทำการวัดเสมอ
- วิธีใช้งานแอมมิเตอร์แบบติดตั้งในวงจร
- ตั้งค่าการรับกระแสไฟของแอมมิเตอร์ให้มีค่าสูงสุด พร้อมสำรวจว่าตัวเครื่องที่ใช้เป็นการรับแบบกระแสตรง หรือกระแสสลับ เพื่อป้องกันการต่อสายที่ผิดพลาด
- ทดสอบฟิวส์ภายในเครื่องมือ ป้องกันการอ่านค่าที่ผิดพลาดของตัวเครื่อง
- ต่อวงจรและเครื่องมือให้ตรงขั้ว ก่อนจะเปิดสวิตช์พร้อมจ่ายไฟให้ทำงานตามปกติ
- อ่านค่าผ่านสเกลเพลท โดยเข็มจะเริ่มเบนไปทางขวา โดยจะเบนไปมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับค่ากระแสไฟที่ไหลผ่านวงจร
2. ประเภทคล้องสายไฟ
เป็นชนิดเครื่องมือวัดค่ากระแสไฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้งานที่สะดวกสบาย ไม่ต้องปลดสายวงจรก่อนทำการวัด เพียงใช้แคลมป์มิเตอร์นี้ คล้องไปยังสายไฟที่ต้องการเพียงเส้นใดเส้นหนึ่ง ก็สามารถอ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านวงจรได้ทันที โดยวิธีการอ่านค่า ในกรณีที่มีกระแสไฟไหลผ่านน้อย ให้ทำการดันสายไฟที่ต้องการวัด คล้องรอบแกนเหล็กของมิเตอร์หลาย ๆ รอบ หลังจากนั้นให้นำค่าที่อ่านได้มาหารด้วยจำนวนรอบการพันของสายไฟ ก็จะได้ค่ากระแสผ่านวงจรที่แท้จริง
- วิธีใช้งานแอมมิเตอร์แบบคล้องสายไฟ
- นำตัวเครื่องไปคล้องรอบสายไฟที่ต้องการอ่านค่ากระแสในวงจร
- ตั้งค่าตัวเครื่องให้เป็นแบบอัตโนมัติ ป้องกันความผิดพลาดระหว่างการใช้งาน
- ทำการอ่านค่าบนหน้ามอนิเตอร์ และถอดเครื่องออกได้ทันทีหลังใช้เสร็จ
วัดกระแสไฟได้ง่ายกว่า แค่ใช้ “มัลติมิเตอร์”
มัลติมิเตอร์ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติด้านการใช้งานที่ครอบคลุม สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลากหลายค่า โดยสามารถตั้งเป็นโวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ได้ตามความต้องการ หลังจากนั้นจึงจะเลือกชนิดของกระแสไฟฟ้า ระหว่างกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) ในขณะที่มัลติมิเตอร์บางชนิด ยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติม สามารถวัดค่าความจุ ความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย
ประเภทของมัลติมิเตอร์
1. มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก
เครื่องมือวัดไฟฟ้าที่ใช้การอ่านค่าจากเข็มที่ชี้อยู่บนสเกลเพลทบริเวณหน้าปัดของมิเตอร์ สามารถวัดได้ทั้งค่าแรงดัน ค่ากระแส ค่าความจุไฟฟ้า ค่าความถี่ ตลอดจนการทดสอบทรานซิสเตอร์ แต่จะใช้วัดได้ทีละ 1 ค่าเท่านั้น โดยในปัจจุบันก็จะมีให้เลือกใช้งานเป็นแบบหมุนบิด เพื่อปรับเลือกปริมาณทางไฟฟ้าที่ต้องการวัด อย่างไรก็ตาม การแสดงค่าของมัลติเตอร์แบบอนาล็อกนั้น อาจมีการคลาดเคลื่อนและแม่นยำน้อยกว่าแบบดิจิตอล
สนใจสินค้าคลิ๊กเลย
2. มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
ถือเป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าที่สะดวกที่สุด และนิยมใช้งานแทนแอมมิเตอร์ได้เลย เนื่องจากความสามารถในการวัดค่าที่หลากหลาย รวมไปถึงค่ากระแสไฟในวงจร ทั้งยังสามารถวัดได้ทั้งปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้า ตลอดจนการตรวจสอบไดโอด โดยการันตีเรื่องความเสถียรด้านการประมวลผลและการอ่านค่า ตลอดจนความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน ผ่าน Safety Symbols ที่กำกับเอาไว้ เพื่อเตือนให้ผู้ใช้มีความระมัดระวัง และเตรียมเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
สนใจสินค้าคลิ๊กเลย
สรุปความสามารถ มัลติมิเตอร์ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- • วัดความต่างศักย์กระแสตรง
- • วัดความต่างศักย์กระแสสลับ
- • วัดปริมาณกระแสสลับ
- • วัดความจุไฟฟ้า
- • วัดความต้านทานไฟฟ้า
- • วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
- • ใช้ตรวจสอบไดโอด
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน สำหรับการใช้งานที่ครอบคลุมแทนแอมมิเตอร์ สามารถปรึกษาและเลือกซื้อได้ที่ Thai Electricity ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า มาตรฐานระดับโลกอย่าง KYORISTU ที่มีให้เลือกพร้อมทั้งมัลติมิเตอร์และแคลมป์มิเตอร์ พร้อมการันตีการใช้งานอ่านค่าที่แม่นยำ ภายใต้มาตรฐานที่ปลอดภัย พร้อมรับประกันสินค้า ครอบคลุมยาวนานกว่า 12 เดือน!
สามารถซื้อเครื่องวัดไฟฟ้าจาก Kyoritsu หรือเลือกชมสินค้าจริงได้ที่สำนักงานของเรา บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 ได้แล้ววันนี้! รับประกันเดินทางสะดวก และมีที่จอดรถพร้อมให้บริการ โดยจะเปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.