• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

คู่มือไฟฟ้า : การเลือกตู้คอนซูมเมอร์สำหรับบ้านหลังใหม่

คู่มือการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์สำหรับที่อยู่อาศัย

สร้างบ้านหลังใหม่ทั้งที อย่าลืมใส่ใจเรื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ภายในบ้าน เพราะประสิทธิภาพการใช้งานจะส่งผลถึงความปลอดภัยในอนาคต แต่การเลือกตู้คอนซูมเมอร์สำหรับติดตั้งให้กับที่พักอาศัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินที่จะเข้าใจ เพราะหากได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานและองค์ประกอบพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น คุณก็จะสามารถเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์ที่เหมาะสมได้อย่างแน่นอน

ตู้คอนซูมเมอร์คืออะไร มีอะไรบ้าง


ตู้คอนซูมเมอร์ อุปกรณ์สำคัญที่ต้องใส่ใจ

จริง ๆ แล้วตู้คอนซูมเมอร์ หรือคอนซูมเมอร์ยูนิตนั้น เป็นชื่อเรียกทางการค้าที่ใช้กันอย่างติดปาก แต่ชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับการใช้งานจะเรียกว่า “แผงจ่ายไฟฟ้าเมนหลัก” โดยจะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม โดยขนาดจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับวงจรไฟฟ้าของแต่ละบ้าน

ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของตู้คอนซูมเมอร์นั้นจะใช้รวบรวมการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากไฟฟ้า ให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ เบรกเกอร์ลูกย่อย และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว-ไฟดูด

องค์ประกอบของตู้คอนซูมเมอร์ที่ควรรู้

• เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวหลัก
ในตู้คอนซูมเมอร์จะต้องมีเมนเบรกเกอร์ ซึ่งในที่นี้คุณสามารถเลือกใช้ได้ทั้งเบรกเกอร์ MCB และเมนเบรกเกอร์กันดูดอย่าง RCBO โดยชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับที่พักอาศัยจะเป็นแบบสองขั้ว (2 Pole) โดยหน้าที่หลัก ๆ ของเมนเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าแบบอัตโนมัติจากทุกวงจรย่อย เมื่อตรวจพบความผิดปกติจากการรั่วหรือลัดวงจร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่คล้ายกับสวิตช์ ใช้สำหรับปิดวงจรไฟฟ้าทั้งระบบ

• เบรกเกอร์ลูกย่อย
เบรกเกอร์ลูกย่อยทั่วไปจะใช้ชนิดขั้วเดียว (1 Pole) เฟส 220/240 โวลต์ เพื่อทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรย่อยเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น เช่น กระแสไฟฟ้าเกิน ไฟรั่ว ไฟช็อต ทั้งนี้เพื่อรักษาความปลอดภัย และป้องกันการเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการเลือกซื้อประเภทของเบรกเกอร์ลูกย่อยในตู้คอนซูมเมอร์ จะต้องอ้างอิงกันเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท

• บัสบาร์นิวทรอล (Neutrol Busbar)
มีสัญลักษณ์เป็นอักษร N ที่จะปรากฏอยู่ในกล่องคอนซูมเมอร์บริเวณด้านซ้ายของเมนเบรกเกอร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายนิวทรอลของเครื่องใช้ไฟฟ้า “ทุกเครื่อง” ภายในบ้าน มีลักษณะเป็นแท่งบัสบาร์เคลือบทองแดงที่มีการเจาะรูเรียงกัน แต่จะมีจำนวนมากน้อยแค่ไหนจะขึ้นอยู่กับขนาดของกล่องคอนซูมเมอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของแต่บ้าน

• บัสบาร์กราวด์ (Ground Busbar)
จุดต่อสายกราวด์ (สายดิน) สามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ตัวอักษร E ที่อยู่เหนือเบรกเกอร์ลูกย่อย โดยมีลักษณะเป็นแท่งบัสบาร์เคลือบทองแดงและมีจำนวนรูภายใต้เงื่อนไขเดียวกับบัสบาร์นิวทรอล ที่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อสายดินทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

เทคนิคและวิธีการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์สำหรับที่พักอาศัย

เทคนิคการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์

 
• จำนวนช่องของตู้คอนซูมเมอร์
ขนาดตู้คือตัวกำหนดจำนวนช่อง โดยมีให้เลือกตั้งแต่ 4-20 ช่อง ขึ้นอยู่กับสเปกที่แต่ละแบรนด์ขาย โดยจำนวนช่องดังกล่าวจะใช้งานกับเบรกเกอร์ลูกย่อย อ้างอิงจากจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าและวงจรต่าง ๆ ภายในบ้าน ที่สำคัญจะต้องเลือกช่องเผื่อเอาไว้สำหรับการต่อขยายโหลดในอนาคต

 • การติดตั้งแบบ Plug-on หรือ DIN-Rial
เนื่องจากคอนซูมเมอร์ยูนิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งเบรกเกอร์ต่าง ๆ ดังนั้นการเลือกประเภทของตู้จะต้องอ้างอิงให้เหมาะสมกับการใช้งานเมนเบรกเกอร์และเบรกเกอร์ลูกย่อย โดยในประเทศไทยจะนิยมใช้อยู่ทั้งหมด 2 แบบ

 • รางปีกนก (DIN- RIAL) : ประเภทตู้ที่มีราคาถูกกว่าหากเทียบกับอีกประเภท แต่ผู้ใช้ต้องเดินสายไฟจากตัวเมนไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อย ยุ่งยากกว่า และต้องใช้สายไฟเยอะ การจัดเก็บให้เป็นระเบียบจึงมีขั้นตอนค่อนข้างมาก

 • ปลั๊กออน (Plug-on) : มีราคาที่สูงกว่าแบบรางปีกนก โดยทางผู้ผลิตจะทำการติดตั้งบัสบาร์มาให้ เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายขึ้น ไม่ต้องทำการเดินสายไฟให้ยุ่งยาก
แต่ถ้าจะให้ดี การซื้อเบรกเกอร์และกล่องคอนซูมเมอร์จากแบรนด์เดียวกัน จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมระหว่างการติดตั้ง รวมถึงยังช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

 • เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
ประเภทของเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) จะแบ่งตามหน้าที่การใช้งาน โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งมีผลต่อการเลือกซื้อคอนซูมเมอร์ยูนิต เนื่องจากแต่ละประเภทจะมีระบบการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป
 
  • RCCB (Residual Current Circuit Breakers) : อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด แต่ไม่สามารถป้องกันกระแสไฟเกิน (Overload) และไฟฟ้าลัดวงจรได้ จึงต้องใช้ควบคู่กับ MCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ RCCB จะใช้การติดตั้งแบบรางปีกนกมากกว่า

  • RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) : เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันทั้งไฟรั่ว ไฟดูด และไฟเกิน เรียกได้ว่าเป็นเบรกเกอร์ที่มีประโยชน์แบบครบทุกด้าน แต่มีราคาที่สูงกว่าแบบ RCCB โดย RCBO จะใช้กับการติดตั้งกับตู้แบบปลั๊กออน

 • มาตรฐานของกล่องไฟ
เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ทุกอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบการป้องกันความปลอดภัยภายในบ้านจะต้องมีมาตรฐานกำกับเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อยืนยันถึงการผลิตที่ได้คุณภาพและความปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยมาตรฐานของตู้คอนซูมเมอร์ และเบรกเกอร์แบบต่าง ๆ สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้

อุปกรณ์ มอก. IEC
คอนซูมเมอร์ยูนิต 1436-2540 60439-1,60439-3
เบรกเกอร์ MCB - 60898
เบรกเกอร์ RCBO 909-2548 61009
เบรกเกอร์ RCCB 2425-2552 61008

จบไปแล้วกับรายละเอียดและเทคนิคการเลือกซื้อกล่องไฟสำหรับใช้งานภายในบ้าน หวังว่าคู่มือฉบับพื้นฐานนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเจ้าของบ้านป้ายแดงที่กำลังหาข้อมูลไม่มากก็น้อย และสำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะไปซื้อเบรกเกอร์และตู้คอนซูมเมอร์ที่ได้มาตรฐาน ภายใต้ผู้ผลิตเดียวกันจากที่ไหน Thai Electricity เรามีสินค้าจาก Hi-Tek ให้เลือกสรรตามความต้องการ รับรองความทนทาน การันตีความปลอดภัยได้ทุกการใช้งาน เพราะไม่ว่าคุณจะมองหาสเปกแบบไหนเราก็มีให้เลือกครบ!


ช็อปตู้ไฟและเบรกเกอร์ ปลอดภัยมั่นใจกว่า

สามารถเลือกซื้อได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือเลือกชมสินค้าจริงได้ที่หน้าสำนักงาน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 เดินทางได้สะดวก มีที่จอดรถรองรับ พร้อมเปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.