• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

รวมสิ่งที่ควรรู้ของ “เบรกเกอร์กันดูด” อุปกรณ์จำเป็นภายในบ้าน

เพราะความเสี่ยงจากไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไม่เว้นแม้แต่วันแสนสบายที่ได้พักผ่อนอยู่บ้าน! ดังนั้น การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าเกินหรือรั่ว จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ แต่ก่อนจะลงมือไปซื้อหาอุปกรณ์และนำมาติดตั้ง ลองมาทำความเข้าใจกับข้อควรรู้ของ "เบรกเกอร์" อีกสักนิด จะได้เข้าใจวิธีต่อเบรกเกอร์กันดูดได้แบบถ่องแท้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเบรกเกอร์กันดูดสำหรับบ้าน

ข้อมูลและข้อเทจจริงของเบรกเกอร์กันดูด

เบรกเกอร์กันดูด อุปกรณ์เสริมช่วยป้องกันเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้ารั่ว (Residual Current Devices - RCD) โดยหน้าที่หลัก ๆ จะช่วยตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในวงจรของที่พักอาศัย พร้อมสแตนด์บายทำหน้าที่สับสวิตช์อัตโนมัติแบบทันที เมื่อตรวจพบการรั่วไหลที่ผิดปกติของกระแสไฟในวงจร โดยปริมาณค่ากระแสไฟที่เป็นอันตรายและอาจทำร้ายให้ถึงแก่ชีวิต จะอยู่ที่ 30 มิลลิแอมป์ ซึ่งถือเป็นค่ามาตรฐานที่กำหนดการทำงานของเบรกเกอร์ทุก ๆ เครื่อง

 

ประเภทของเบรกเกอร์กันไฟดูด

  • RCCB (Residual Current Circuit Breaker) เบรกเกอร์กันดูดมาตรฐาน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ เป็นเหตุให้ต้องใช้วิธีต่อเบรกเกอร์กันดูด ร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อป้องกันความปลอดภัยด้านไฟฟ้าที่ครอบคลุม
  • RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ RCCB สามารถตัดวงจรได้อัตโนมัติเมื่อเกิดไฟดูด ไฟรั่ว แต่ที่พิเศษกว่าคือความสามารถในการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่เกินจากวงจรไฟ ทั้งยังช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ในเครื่องเดียว
  • ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) เบรกเกอร์กันดูดสำหรับใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น และปั๊มน้ำ มีหน้าตาคล้ายคลึงกับเซฟตี้เบรกเกอร์ เพียงแต่ ELCB จะมีปุ่ม TEST เล็ก ๆ สำหรับกดใช้งาน

 

รู้เท่าทันระดับความรุนแรงจากการโดนไฟฟ้าดูด

หลังทำความรู้จักอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูดกันไปในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าหลักการทำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในที่พักอาศัย พร้อมช่วยให้คุณห่างไกลจากเหตุอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟดูดได้อย่างมั่นใจ และในส่วนนี้ เราจะขอเพิ่มเกร็ดความรู้เล็ก ๆ เกี่ยวกับระดับความรุนแรงของการโดนไฟดูดอีกสักนิด จะได้รู้เท่าทันและป้องกันได้อย่างเหมาะสม

  • ระดับที่ 1 โดนดูด แต่ไม่รู้สึก (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 0.5 mA)
  • ระดับที่ 2 โดนดูด รู้สึก แต่ไม่อันตราย (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 mA)
  • ระดับที่ 3 โดนดูด กล้ามเนื้อจะเกร็ง หรือหายใจติดขัด (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 20 mA)
  • ระดับที่ 4 โดนดูด หัวใจล้มเหลว อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ (ปริมาณกระแสไฟฟ้ามากกว่า 30 mA)

 

เบรกเกอร์และเบรกเกอร์กันดูด มีความแตกต่างกันอย่างไร

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะเกิดความข้องใจเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานของ “เซอร์กิตเบรกเกอร์” และ “เบรกเกอร์กัน” ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ในส่วนนี้เราจะย่อยหน้าที่ของเบรกเกอร์แบบเป็นข้อ ๆ จะได้มองเห็นภาพรวมชัดเจน ว่าหน้าที่การทำงานของเบรกเกอร์นั้นคืออะไร

  • เบรกเกอร์ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า “ทั้งวงจร” แบบอัตโนมัติ เมื่อตรวจพบการโอเวอร์โหลดของกระแสไฟฟ้า
  • ไม่สามารถเลือกตัดวงจรได้ ทำให้ตู้คอนซูมเมอร์ในปัจจุบันต้องมีส่วนสำหรับติดตั้งเบรกเกอร์กันดูด เพื่อเข้ามาช่วยเลือกตัดวงจรที่เสี่ยงต่อการโดนไฟดูดได้แบบเฉพาะจุด โดยไม่รบกวนการใช้ไฟฟ้าส่วนอื่น ๆ ภายในบ้าน

 

วิธีติดตั้งเบรกเกอร์กันดูด

วิธีต่อเบรกเกอร์กันดูด ช่วยป้องกันความปลอดภัย

 

  • การต่อแบบเมนเฟสด้วย MCB + RCCB

เป็นการต่อวงจรแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด โดยจะทำหน้าที่เป็นเมนของไฟ 1 เฟส ที่สามารถป้องกันปัญหาไฟดูด ไฟรั่วได้ทั้งบ้านแบบไม่ต้องต่อสายนิวทรัลแยก

วิธีนี้จะมีราคาค่อนข้างถูก แต่ก็เหมาะกับการใช้งานในบ้านที่เก่า เพราะมีลักษณะการต่อสายนิวทรัลแบบมัดรวม จึงทำให้ง่ายต่อการติดตั้งเครื่องกันดูด อย่างไรก็ตาม การติดตั้งด้วยวิธีนี้ จะไม่สามารถแบ่งแยกวงจรที่ต้องการตัดไฟได้ ทำให้ทุกครั้งที่เกิดเหตุไฟรั่ว เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งบ้านก็จะถูกตัดวงจรทันที

  • การต่อแบบแยกวงจร ช่วยคุมไฟรั่วเฉพาะจุดด้วย MCB + RCCB

เป็นการต่อวงจรที่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์คอยทำหน้าที่เมน และมีเบรกเกอร์กันดูดแยกควบคุมวงจรสำหรับไฟ 1 เฟส ซึ่ง RCCB หนึ่งตัว สามารถป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายตัวพร้อม ๆ กัน แต่ก็ควรจะเลือกต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงสูงด้านการรั่วไหลของไฟฟ้าเท่านั้น จึงจะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการต่อแบบนี้มีสิ่งที่ต้องคอยระวัง คือการแยกสายนิวทรัลของอุปกรณ์ในบ้าน ให้เชื่อมต่อเข้ากับตัวกันดูดได้อย่างชัดเจน และห้ามนำมาต่อรวมกัน เพราะอาจจะทำให้ลดทอนประสิทธิภาพเครื่องกันดูด จนไม่สามารถจับกระแสการรั่วที่แท้จริงได้

  • การต่อแบบแยกคุมวงจรแบบตัวต่อตัวด้วย MCB + RCBO

ถือเป็นวิธีต่อเบรกเกอร์กันดูดที่ได้รับความนิยมและปลอดภัยมากที่สุด ด้วยการต่อวงจรที่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์ทำหน้าที่เป็นเมน และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูดแบบ RCBO ทำหน้าที่แยกควบคุมวงจรต่อไฟ 1 เฟส

วิธีติดตั้งก็ทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวใหม่ก็สามารถต่อแทนได้ทันที ทั้งยังเดินสายไฟได้ง่าย ใช้กับสายเก่าก็ได้ หรือต่อกับกันดูดทริปก็ได้เช่นเดียวกัน แต่เพราะความสะดวกสบายในการใช้งานและความปลอดภัยที่สูงนี้ จึงทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงมากที่สุด

ช็อปตู้ไฟและเบรกเกอร์ ปลอดภัยมั่นใจกว่า

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเบรกเกอร์กันดูด อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอัตรายจากกระแสไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย ให้คุณอุ่นใจได้ทุกการพักผ่อน อย่าลืมนึกถึง Thai Electricity ศูนย์รวมสินค้าด้านไฟฟ้าครบวงจรที่พร้อมให้คุณเลือกซื้อเบรกเกอร์และตู้คอนซูมเมอร์จากแบรนด์ชั้นนำได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ของเรา หรือจะเลือกชมสินค้าจริงได้ที่สำนักงานบนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 โดยเราจะเปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.